Sunday, May 9, 2010

จัดฟันแฟชั่น

ปัจจุบัน การจัดฟันที่ เรานิยมทำกันไม่ใช่ เพื่อการรักษาฟันแล้ว แต่กลายเป็นการจัดฟันตามแฟชั่นที่เป็นกระแสฮิตมากในหมู่วัยรุ่น นำมาเป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามกิ๊บเก๋โดยหารู้ไม่ว่า มีภัยร้ายแอบซ่อนอยู่มากมาย ล่าสุดได้เกิดเหตุสลดขึ้นกับน้องนักเรียนหญิงคนหนึ่งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใส่อุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นในร้านที่ไม่ได้มาตiฐานจนติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตในที่สุด

จัดฟันแฟชั่น, ดัดฟัน


โดยปกติแล้วการจัดฟัน เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฟันเรียงสวยเป็นระเบียบสร้างความมั่นใจและสามารถบด เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันตแพทย์ไพศาล กังวลกิจ เลขาธิการ ทันตแพทยสภา อธิบายและให้ข้อบ่งชี้สำหรับ ผู้ที่จำเป็นต้องจัดฟัน คือ ผู้ที่มีฟันเกหรือฟันซ้อนมาก เพราะทำความสะอาดฟันได้ยากมีผลทำให้ฟันผุและเหงือกอักเสบ ผู้ที่มี ฟันห่างมาก มีผลทำให้มองดูไม่สวยงาม เสียบุคลิกภาพและ ผู้ที่มีปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันบนหรือล่างยื่นทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดฟันเพื่อรักษาอาการดังกล่าว

แต่ขณะ นี้พบว่ามีการใช้ลวดจัดฟันปลอมในกลุ่มวัยรุ่นเป็นแฟชั่นเพื่อความสวยเก๋และ ที่น่าเป็นห่วงคือสามารถหาซื้อได้ง่ายตามตลาดนัดหรือร้านค้าขายของแฟชั่น ทั่วไปในราคาที่ถูกกว่าร้านจัดฟันจริงหลายเท่าตัว โดยมีการนำลวดเส้นเล็ก ๆ มาร้อยลูกปัดสีสันต่าง ๆ ตกแต่งให้สวยงามขายในราคาเส้นละ 50-120 บาทและหากต้องการให้ผู้ขายใส่ให้ราคาจะแพงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 150-200 บาท ซึ่งผู้ขายจะใช้กาวทาที่เหล็กและติดที่ฟันให้ลูกค้าโดยผู้ที่ทำไม่มีความรู้ ความชำนาญด้านทันตกรรมการจัดฟันแต่อย่างใด

จัดฟันแฟชั่น, ดัดฟัน


“อุปกรณ์ที่ใช้ก็ ไม่ได้มาตร ฐาน ไม่ใช่เครื่องมือแพทย์ เนื่องจากลวดสเตนเลสที่ใช้เป็น เครื่องมือแพทย์นั้นจะต้องเป็นเครื่องมือที่นำเข้าจากต่างประเทศเพราะใน ประเทศไทยไม่มีผลิตหรือจำหน่ายจึงมีราคาแพงแต่ปลอดภัยและรักษาได้ผลอย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนลวดจัดฟันแฟชั่นตามร้านค้าที่นำมาจำหน่ายเป็นลวด ธรรมดาที่เมื่อใช้ไปแล้ว จะเป็นสนิมและสกปรก มีสารหนู สารตะกั่ว พลวง ซิลิเนียม โครเมียมและอื่น ๆ หากเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย เช่น ตับ ไตและเมื่อนานเข้าก็จะก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง”

นอก จากนี้ลวดหรือลูกปัดต่าง ๆ ที่อยู่ในปากซึ่งมีน้ำลาย หากทานอาหารจะทำให้พวกสารต่าง ๆ เหล่านี้ละลายไหลลงไปสู่กระเพาะอาหารและถ้ารับประทานของเปรี้ยว ๆ ก็จะยิ่งทำให้สารเหล่านี้ละลายมากขึ้น จึงไปสะสมมากมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีจุดอ่อนเป็นโรคหัวใจเหมือนกรณีที่เกิดขึ้นกับน้องนักเรียน หญิงที่ตกเป็นเหยื่อและเสียชีวิต สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็เกิดผลเสียในแบบเดียวกันได้แต่เป็น ในระยะยาว

ข้อสำคัญการใส่ลวดจัดฟันแฟชั่นมีผลเสียทำให้ แปรงฟันลำบาก กักเก็บเศษอาหาร เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ ถ้าใส่นอนหรือใส่กินอาหารอาจหลุดเข้าลำคอทำให้เสียชีวิตได้ บางคนถูกลวดเกี่ยวกระพุ้งแก้มเป็นแผลและเกิดหนองทำให้ปากเหม็น อีกทั้งอาจทำให้ฟันที่เรียงสวยอยู่แล้วเกิดบิดเบี้ยว เกและห่างไปคนละทิศละทางเพราะเมื่อติดเหล็กที่ฟันแล้วจะทำให้รู้สึกเจ็บ เนื่องจากฟันเคลื่อนที่ ซึ่งผู้ทำไม่มีความชำนาญและไม่ได้ทำตามขั้นตอนของแพทย์ที่ถูกต้อง จึงไม่สามารถติดเครื่องมือจัดฟันแบบบังคับทิศทางของฟันให้เคลื่อนที่ใน ตำแหน่งองศาที่ควรจะเป็นได้ ผลที่ได้รับจึงไม่คุ้มค่ากับความสวยงามที่แลกมาด้วยความเจ็บปวดและอาจถึง ขั้นเสียชีวิตด้วยทางที่ดีอย่าไปใส่เลยถ้าไม่มีความจำเป็น

จัดฟันแฟชั่น, ดัดฟัน


จากการตรวจสอบพบว่า ต้นกำเนิดลวดจัดฟันแฟชั่นน่าจะเริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะจากการประชุมร่วมกับทันตแพทย์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่มีประเทศใดมีปัญหาการใช้ลวดจัดฟันแฟชั่นนี้ โดยจากการสำรวจสถานที่จัดฟันแฟชั่นพบว่ามีคลินิกเถื่อนประมาณเกือบ 10,000 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นที่มีผู้เสียชีวิตนั้นมีจำนวนกว่า 400 แห่ง ซึ่งกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทางทันตแพทยสภาได้ประสานงานกับสำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินการกับผู้จำหน่ายสินค้าดังกล่าวรวมทั้ง การใส่ลวดจัดฟันปลอมจากวัสดุที่เป็นอันตรายในช่องปาก เนื่องจากทันตแพทยสภาไม่มีอำนาจไปจับกุมผู้ผลิตจำหน่ายลวดจัดฟันแฟชั่น

แฟชั่นรักสวยรักงามหากรู้จักตามอย่างมีสติและใช้ความคิด จะมีประโยชน์ ไม่ตกเทรนด์และปลอดภัย แต่หากละเลยที่จะคำนึงถึงความถูกต้องและความเสี่ยง เราอาจตกเป็นเหยื่อที่แลกความสวยเก๋ด้วยชีวิตก็เป็นได้.

ขั้น ตอนการเตรียมตัวก่อนจีดฟันอย่างถูกต้องและปลอดภัย

หากมี ความจำเป็นต้องรับบริการทางการจัดฟัน ทันตแพทย์ไพศาล กังวลกิจ เลขาธิการทันตแพทยสภา แนะนำว่า เครื่องมือจัดฟันมี 2 ชนิด คือ ชนิดถอดได้มักใช้กรณีมีความผิดปกติเล็กน้อยเคลื่อนฟันบางซี่ สามารถถอดออกได้ และชนิดที่ 2 เป็นแบบติดแน่น เรียกว่า “เหล็กจัดฟัน” วัสดุเป็นโลหะไร้สนิมขนาดเล็ก ๆ ติดบนด้านหน้าของฟัน ใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนฟันหลาย ๆ ซี่พร้อมกัน

ขั้นตอน แรกต้องเข้าพบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันเพื่อปรึกษาและวินิจฉัย ตรวจสภาพช่องปาก โดยเริ่มจากการเอกซเรย์ฟันทั้งปากและศีรษะ พิมพ์ฟันทำแบบจำลองฟัน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ วางแผนการรักษาและวินิจฉัยหาสาเหตุความผิดปกติของฟันและวิธีการแก้ไข หากพบว่ามีความผิดปกติและมีความจำเป็นต้องรักษาแพทย์จะทำการรักษาให้ ส่วนค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับอาการของฟันว่าซ้อน เกและยื่นมากหรือน้อย ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐราคาประมาณ 10,000-20,000 บาท ส่วนเอกชนจะอยู่ที่ 30,000-40,000 บาท

ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมตัวก่อน ติดเครื่องมือโดยผู้ป่วยที่จะทำการรักษาจะต้องตรวจสุขภาพฟันก่อน โดย ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจช่องปาก หากมีฟันผุต้องอุดให้เรียบร้อยและขูดหินปูนให้สะอาด หากมีโรคเหงือกต้องได้รับการรักษาจนถึงระดับที่ควบคุมโรคเหงือกได้และในกรณี ที่ฟันซ้อนเกมากหรือฟันยื่นมาก การถอนฟันจะทำให้มีช่องว่างเพื่อที่จะเรียงฟันที่ซ้อนเกหรือดึงฟันเข้าเพื่อ ลดความยื่น โดยส่วนใหญ่คนไข้จะถูกถอนฟันออกประมาณ 3-4 ซี่ หรือแล้วแต่ความผิดปกติของฟันซึ่งมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป

ขั้น ตอนระหว่างการจัดฟัน ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจและทำความสะอาดฟัน เป็นระยะ ๆ โดยทันตแพทย์ประจำตัวจนกว่าจะจัดฟันเสร็จ ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรดูแลทำความสะอาดฟันและใช้แปรงสีฟันสำหรับผู้ป่วยจัด ฟันตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น ไม่เช่นนั้นหลังจัดฟันเสร็จแล้วอาจมีปัญหาฟันผุตามมา ซึ่งใช้เวลาในการจัดประมาณ 2 ปี แพทย์จึงจะถอดเหล็กออก จากนั้นผู้ป่วยจะต้องใส่รีเทนเนอร์ครอบฟันเพื่อคงสภาพฟันไว้ เพราะฟันเคลื่อนที่จากที่เดิมมาจัดเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วอาจจะ เคลื่อนกลับที่เดิมได้ เนื่องจากกระดูกที่รากฟันจะละลายกลับที่เก่า จึงต้องใส่ไว้อีกประมาณ 3-4 ปี รอจนกระทั่งกระดูกเข้าที่แล้วจึงหยุดใส่

การจัดฟัน (Orthodontic treatment)

การจัดฟัน (Orthodontic treatment) เป็นการเคลี่อนฟัน ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้าน ความสวยงามและการทำหน้าที่ โดยอาศัยเครื่องมือบางชนิด
ซึ่งมีทั้งแบบถอดได้และแบบที่ยึดติดอยู่กับตัวฟันแบบ ที่อยู่ในช่องปาก และแบบที่อยู่นอกช่องปากแบบที่มีสีจากโลหะและ แบบที่มีสีเดียวกับฟันธรรมชาติ



เมื่อไหร่จึงเริ่มจัดได้

การจัดฟันสามารถกระทำได้ทั้งใน เด็กที่ฟันแท้ยังขึ้นไม่ครบและในผู้ใหญ่ที่ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่แล้ว ทั้งนี้อาจจะมีจุดมุ่งหมายและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปบ้าง
การจัดฟันในเด็กอาจจะมีผลทำให้รูปหน้าและรูปร่าง ของกระดูกขากรรไกรเปลี่ยนแปลงไปได้
ในขณะที่ในผู้ใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการเรียงตัว ของฟันเท่านั้น
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของใบหน้าได้มากนักและมี ข้อจำกัดต่างๆมากกว่าในเด็ก
ในบางครั้งการจัดฟันเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถแก้ไขการสบฟันและรูปร่างใบหน้า
ให้สมบูรณ์ได้ จึงต้องมีการถอนฟันออกไปบางซี่ หรือในรายที่มีความผิดปกติรุนแรง
อาจจะต้องทำการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร (Orthognathic surgery)

ระยะเวลาที่ต้องใช้

ระยะเวลาในการจัดฟันนั้นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละ ราย เนื่องจากมีตัวแปรต่างๆมากมาย
อาทิเช่น อายุของผู้ป่วย สภาพกระดูกขากรรไกรของผู้ป่วย ความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษา ฯลฯ

ความสำเร็จในการจัดฟัน

จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างสูงจากผู้ป่วยตั้งแต่การมา ให้ตรงเวลานัดโดยทั่วไป
จะต้องมาพบทันตแพทย์ทุกๆ 3-4 สัปดาห์เพื่อทำการปรับเครื่องมือ
การรักษาความสะอาดในช่องปาก
การใส่เครื่องมือบางชนิดในช่องปากด้วยตัวเองจนถึงการ ใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainer) หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว ถ้าปราศจากการร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยแล้ว การจัดฟันอาจจะใช้เวลานานกว่าปกติและไม่ประสบผลสำเร็จ หรือผลที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อรับการจัดฟัน

1.แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และรักษาความสะอาดฟันและช่องปากให้ดี
2.ปฏิบัติตัวตามที่ทันตแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด เช่น การใส่ยาง การใส่ retainer การมาตามนัดที่กำหนด
3. งดอาหารบางประเภท

- อาหารที่แข็งมาก เช่น อ้อย น้ำแข็ง
- อาหารเหนียว เช่น หมากฝรั่ง ตังเม เนื้อที่เหนียวมากๆ
- อาหารหวานจัด เช่น ลูกอม ช็อคโกแลต

มารู้จัก การจัดฟันกัน

การจัดฟัน คือ อะไร
การจัดฟัน (Orthodontic Treatment) เป็นการเคลี่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม โดยอาศัยเครื่องมือบางชนิดซึ่งมีทั้งแบบถอดได้ และแบบที่ยึดติดอยู่กับตัวฟัน แบบที่อยู่ในช่องปากและแบบที่อยู่นอกช่องปาก นอกจากนี้ การจัดฟันยังรวมไปถึงการแก้ไขลักษณะนิสัยที่ผิดปกติในการบดเคี้ยว

การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกรอีกด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านความสวยงาม และการทำหน้าที่

ข้อดีและข้อเสียของการจัดฟัน
ข้อดีของการจัด ฟัน
1. การบดเคี้ยวอาหาร การจัดฟันจะทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น และย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป เนื่องจากการบดเคี้ยวเป็นขั้นแรกในการย่อยอาหาร
2. ทำให้ปัญหาต่างๆทางทันตกรรมลดลง
- ฟันซ้อนเกจะทำให้เราทำความสะอาดหรือแปรงฟันได้ยากและไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มีคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์รวมทั้งหินปูนมาเกาะจับที่ตัวฟันอยู่ เยอะ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกได้
- ฟันซ้อนเกจะทำให้เมื่อเราใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารประจำวัน จะเกิดการสึกของฟันในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด ทำให้การสบฟันผิดจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น จึงส่งผลให้ยิ่งนานไปยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อตัวฟัน เหงือกและข้อต่อขากรรไกร
3. ความสวยงาม การจัดฟันจะทำให้ฟันเรียงตัวสวยงาม เป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตัวเองอีกด้วย

ข้อเสียของการจัดฟัน
1. ฟันผุ เหงือกอักเสบ เนื่องจากการที่เรามีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในช่องปาก จะทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย ผู้ที่จัดฟันจึงควรแปรงฟันอย่างสะอาดทั่วถึงหลังจากมื้ออาหารทุกมื้อ
2. อาการแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน บางคนแพ้สารพวกนิเกิลที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน แต่พบได้น้อยมาก
3. อาการเจ็บ พบได้เกือบทุกคนที่จัดฟัน อาการเจ็บนี้มักเกิดจากการเคลื่อนตัวของฟัน หรือเกิดจากเครื่องมือจัดฟันไปทิ่มกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก อาการเจ็บจะเป็นในบางช่วงของการจัดฟันเท่านั้น
4. อาการปวดข้อต่อขากรรไกร อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการจัดฟัน เนื่องจากฟันเคลื่อนตัวไปในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมต่อการบดเคี้ยว
5. ฟันตายหรือรากฟันมีการละลายตัว พบได้ไม่บ่อยนักในผู้ที่มีการจัดฟัน อย่างไรก็ตามเราพบว่าในระหว่างการจัดฟันนั้น ฟันที่ตายไปแล้วอาจจะย้อนกลับมามีชีวิตดังเดิมได้ และในคนปกติที่ไม่ได้จัดฟันรากฟันก็มีการละลายตัวได้เองอยู่แล้ว

ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟัน
ระยะ เวลาที่ใช้ในการจัดฟันนั้นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉลี่ยการจัดฟันแบบติดแน่นนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2.5 ปี แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันแตกต่างกันไป ดังนี้
1. ผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุมากกว่ามักจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันมากกว่าผู้ที่มี อายุน้อยกว่า
2. การจัดฟันที่มีการถอนฟันร่วมด้วย มักจะใช้เวลาในการจัดฟันมากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการถอนฟันร่วมด้วย
3. การจัดฟันที่มีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย มักจะใช้เวลามากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการผ่าตัดขากรรไกร
4. การผิดนัดบ่อยๆย่อมทำให้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น
5. การไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง เช่น การใส่ยางหรือการใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ย่อมทำให้เวลาในการจัดฟันมาก ขึ้น
6. การรับประทานอาหารโดยไม่ระมัดระวังจะทำให้เหล็ก ยางหรือลวดจัดฟันหลุด หรือเสียหาย ย่อมทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันมากขึ้น